ปรมาจารย์ ฟรานซิส หลี่เหยา

ปรมาจารย์ ฟรานซิส หลี่เหยา

ประวัติอาจารย์ฮวงุจุ้ย หลี่เหยา

ในปี พศ.2516 อาจารย์หลีเหยาได้เริ่มศึกษาศาสตร์หยินหยางฮวงจุ้ยกับอาจารย์และซินแสหลายท่าน จนกระทั่งปี พศ.2526 ท่านก็ได้พบและเรียนรู้จากอาจารย์สุยเบง (Master Sui Beng) และด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญที่ได้รับการถ่ายทอดมา อาจารย์ได้เริ่มเปิดชั้นเรียนฮวงจุ้ยในปี พศ.2527 ทั้งในคาบสมุทรมาลายู, มาเลเซียตะวันออก และสิงคโปร์

หลังจาก 24 ปีผ่านไป อาจารย์ก็มีลูกศิษย์มากกว่า 1000 คนจากทุกๆสาขาอาชีพที่เดินทางมาจากทุกมุมโลก หลายๆท่านได้กลายมาเป็นซินแสชื่อดัง และอีกหลายๆท่านนำไปประกอบอาชีพและเป็นที่ปรึกษา

ตั้งแต่ปี พศ. 2527-2529 อาจารย์หลี่เหยาได้เขียนบทความลงในคอลัมน์ฮวงจุ้ยในหนังสือพิมพ์ซันมิน (Sun Min Daily News) และเป็นที่ปรึกษาให้กับหนังสือพิมพ์ด้วย มีผู้อ่านติดตามมากมาย ในปี 2527 อาจารย์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ผู้สอนให้แก่สมาคม Keng Jiang ในมะละกา ประเทศมาเลเซีย และสอนอยู่จนถึงปี พศ. 2531

ต่อมาในปี พศ. 2535-2536 สมาคมอี้จิงกัวลาลัมเปอร์ได้แต่งตั้งให้อาจารย์หลี่เหยามาเป็นอาจารย์ผู้สอนให้กับสมาคมเพราะเล็งเห็นถึงความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่เยี่ยมยอด

และอาจารย์ยังเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือทางด้านฮวงจุ้ยให้กับ Feminine Magazine ในปี พศ. 2536-2537 อีกด้วย

นอกเหนือจากความรู้ที่เปี่ยมแน่นทั้งเรื่องธาตุทั้งห้า Five Elements, ดวงจีน หรือ โป้ยหยี่สี่เถียว Ba Zi, การดูฤกษ์ยาม Date Selection, การดูลายมือ Palmistry, ปฎิทินจีน Tong Shu, ฮวงจุ้ยหยินหยางสำหรับสุสานและบ้านคน Yin and Yang Fengshui, ปากัว Ba Qua,อี้จิง I-Ching และอื่นๆอีกมากมาย อาจารย์หลี่เหยายังได้นำความรู้ที่ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์จากที่ตั้งของสุสานในราชวงศ์ซ่ง, ราชวงศ์ถัง , ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง และการวิจัยบนสถานที่สำคัญๆทางประวัติศาสตร์ของทั้งประเทศจีนและฮ่องกง เพื่อหาเหตุผลของการล่มสลายของราชวงศ์เหล่านั้นอีกด้วย

นอกเหนือจากการเป็นผู้สืบทอดที่เหลือเพียงรายเดียวของรุ่นที่สี่ของ Tan?s School Of San Yuan Feng Shui แล้ว อาจารย์หลี่เหยายังเป็นผู้เดียวที่ได้ครอบครองข้อเขียนดั้งเดิมตัวจริงของปรมาจารย์ตัน หยาง หวู่ Grandmaster T?an Yang Wu ซึ่งอาจารย์ก็ได้นำมาตีพิมพ์ในไต้หวันเมื่อหลายปีก่อน อาจารย์ยังได้รับเป็นที่ปรึกษาด้านฮวงจุ้ยให้ทั่วไปทั้งในประเทศมาเลเซียและต่างประเทศอีกมากมายจนนับไม่ถ้วนทั้งบุคคลที่มีชื่อเสียงและอื่นๆ

นอกจากการสอนและเป็นที่ปรึกษาแล้ว อาจารย์หลี่เหยายังเป็นผู้เดียวที่ได้ออกแบบเข็มทิศฮวงจุ้ยขึ้นมาอีกหลายชนิด หล่อผันหรือหล่อแก (Luo Pan) เป็นเข็มทิศแบบหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการที่ละเอียดซับซ้อนแม่นยำในการศึกษาฮวงจุ้ย เพื่อให้ลูกศิษย์และซินแสอื่นๆได้ใช้กัน

ปัจจุบัน อาจารย์หลี่เหยาเป็นอาจารย์ผู้ฝึกสอน เป็นนักเขียน และเป็นที่ปรึกษาของ Central Academy of Feng Shui (CAFS) ท่านยังคงเปิดสอนศาสตร์ต่างๆในหลายๆระดับและเปิดการสัมมนาอยู่อย่างสม่ำเสมอ

ปรมาจารย์ ฟรานซิส หลี่เหยา

Grandmaster Francis Leyau

In 1973, Master Francis Leyau Yoke Sai began his studies in Ying and Yang Feng Shui with other masters till he met Master Sui Beng in 1983. With the knowledge he had gained from his learning, he started conducting classes in Feng Shui in 1984 in both Peninsular and East Malaysia, and Singapore.

Over the last 24 years, he has had over a thousand students from all walks of life including professionals. Among his students, some have become masters themselves while some others have become practitioners and consultants.

From 1984 to 1986, he was a Feng Shui columnist and consultant for the Sun Min Daily News where he wrote articles and answered queries from the readers. In 1984, he was appointed as a Feng Shui Instructor to the Keng Jiang Association in Malacca, Malaysia, a post he relinquished in 1988. From 1991 to 1994, He was the adviser and Instructor to Malaysia Yi jing Association (formally was Kuala Lumpur I-Ching Association) and he had many time represented the association to the world I-Ching conferences. He was also a regular contributor on Feng Shui to Feminine Magazine in 1993 and 1994.

Other than his extensive knowledge of the Five Elements, Ba Zi, Date Selection, Palmistry, Tong Shu, Yin and Yang Feng Shui, Ba Qua, I-Ching and etc., he has carried out studies which involved the analysis of tombs and mausoleums in China of the Song, Tang, Ming and Qing Dynasties among many others. He has also visited areas of Feng Shui importance in China and Hong Kong to carry out further research on the historic significance of Feng Shui and to find out the reasons behind the fall of various dynasties in China.

Other than being the only remaining disciple in the fourth generation of the Tan?s School of San Yuan Feng Shui, he is also the only person who holds the original texts written by Grandmaster T’an Yang Wu. Master Francis Leyau however did reprint the books in Taiwan a few years ago. He has also undertaken Feng Shui analysis for numerous clients, both ordinary and well-known people within and outside Malaysia.

Apart from that, he is the sole person in Malaysia to design various Feng Shui compasses. The compasses (Luo Pan) are designed to establish a more complete study on the subject and are made available to his students, Feng Shui practitioners and even masters.

At present, he is the Master Trainer, Author and Consultant of the Central Academy of Feng Shui (CAFS). He still conducts courses at different competency levels and gives seminars on various subjects.

ปิดการแสดงความเห็น